แล้วจะต้องพ่นยามั้ยคะ จะพ่นยาไปทำไม

โดย

Post : 07/11/2550 16:21      Last Update: 17/04/2555 13:20
 
     

 
แล้วจะต้องพ่นยามั้ยคะ จะพ่นยาไปทำไม
 
เดือนที่ผ่านมา เดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใหญ่มาก ย่านมีนบุรี  ไม่กี่วันต่อมาไปเยี่ยมโรงพยาบาลที่ต้องมีการเพิ่มพูนทักษะให้แก่แพทย์ที่จบใหม่ เห็นปัญหาหลายด้าน งาน งาน งานที่มากเหลือเกินของแพทย์ รวมถึงงานของแพทย์จบใหม่ จึงมีความพยายามจัดการเรียนการสอนของโรงพยาบาลใหญ่ เพื่อการเรียนรู้ เสริมทักษะ และเรียนรู้เรื่องใหม่ๆที่เกิดขึ้น
 
เดือนกันยายน ได้ไปประชุมที่สวีเดนของหมอโรคปอด เห็นหัวข้อการทบทวนเรื่องเด่นๆของระบบหายใจในเด็กในวารสารทางการแพทย์ในรอบปี 2006 ที่ผ่านมา เรื่องหนึ่งที่ยังเป็นเรื่องเสมอมาเลยก็คือ เรื่องเด็กตัวเล็กๆ ส่วนใหญ่อายุ 1-2 ปี ที่หายใจได้ยินเสียงวี๊ด เราต้องรักษาเค้าแบบหืดหรือยัง ต้องรักษาแบบไหน ต้องพ่นยามั้ยคะ ไม่พ่นได้มั้ยครับ
เลยอยากเล่าเริ่มจากเจ้าเก่า คุณหมอหาญ ขนมปังกรอบ  Hans Bisgaard, M.D.,
พี่แกบอกเลยว่าพ่นแล้วไม่เห็นได้ผลอะไรเลย อ่านได้เลยจากที่นี่
Intermittent Inhaled Corticosteroids in Infants with Episodic Wheezing
 
ที่นี้ไปดูแบบอเมริกันสไตล์ พี่แกก็กลัวเลยว่าไม่พ่นเดี๋ยวไปเป็นหืดกันหมด แกเลยเอาเด็กที่วี๊ดบูม วี๊ดบูมที่น่าจะกลายไปเป็นหืดมาพ่นยา พ่นจริงๆเลย 2 ปี ก็พบว่า  พ่นยาจริงยาหลอก ผลก็คือไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้แบบนั้น หากว่าจะเป็นหืดอย่างไรก็ต้องเป็น
Long-Term Inhaled Corticosteroids in Preschool Children at High Risk for Asthma
ส่วนความเห็นต่อไปนี้ เป็นความเห็นของบรรณาธิการที่เสนอไว้อย่างน่าสนใจที่สุดครับ
Inhaled Corticosteroids for Young Children with Wheezing
 
จึงขอให้ลองดูชะตากรรมของผู้หายใจได้ยินเสียงวี๊ด ใน คำแนะนำของคุณจีน่า gina guideline ที่ระบุของเด็กที่หายใจได้ยินเสียงวี๊ด ในกลุ่ม transient wheezer
GINA Report, Global Strategy for Asthma Management and Prevention
ดาวน์โหลด pdf file มาอ่านในหน้า 10 ได้เลย
พิจารณาทั้งสิ้นแล้ว คงจะบอกแนวโน้มการให้การรักษาในลักษณะที่ว่ามีการให้ยาตามการวินิจฉัยของเรา มองว่าเด็กเป็นหืด รักษาแบบหืด ตามแบบฉบับใหม่ล่าสุดก็ควรให้ยาจนควบคุมอาการได้ Control แน่นอนเลยว่าพอดีขึ้นเราก็ลองถอยยา มาใช้แบบเวลามีอาการ แต่ถ้าเรามองว่ายังไม่ได้เป็นหอบหืด เป็นแบบว่าชั่วคราว ชั่วครั้ง การให้ยาจึงอาจให้ยาเพียงชั่วตอนมีอาการ แล้วจะให้ยาอะไร จะพ่นยาหรือเปล่านะ
 
ก็จะมีการพูดแบบการให้ยาเวลามีอาการในรูปของยาต้านการอักเสบ ทั้งในรูปแบบประเทศออสเตรเลีย ที่ลงตีพิมพ์ ในวารสารโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤติ
ตามนี้
Short-Course Montelukast for Intermittent Asthma in Children
และในฉบับอเมริกันที่ทำการศึกษาคล้ายกัน ทั้งยังมีความเห็นจากบรรณาธิการด้วยว่าเป็นวิธีให้ยาเวลามีอาการในเด็กแบบนี้ที่ไม่ได้การระบุไว้ในguideline
Montelukast Reduces Asthma Exacerbations in 2- to 5-Year-Old Children With Intermittent Asthma
รวมทั้งมีการให้ยาแบบรายเดือนที่คิดว่าเดือนนี้ชอบมีการกระตุ้นให้เด็กมีการจับหืด จับหอบแบบรุนแรง ดังนั้นไม่ว่าใช้ยาอะไรอยู่มากน้อยแค่ไหน ให้เติมยาต้านสารลิวโคไทอีน เข้าไปอีกหน่อย จะพบว่า คนไข้ดีแฮะ สบายขึ้นแฮะ คุณภาพชีวิตน่าจะดีขึ้นทั้งของคนไข้ ของคนไข้ แล้วคุณภาพชีวิตของคุณหมอน่าจะดีขึ้นด้วย ลองอ่านต่อที่วารสารกุมารเดือนกันยายนนี้ได้เลย
Attenuation of the September Epidemic of Asthma Exacerbations in Children: A Randomized, Controlled Trial of Montelukast Added to Usual Therapy
 
 
ทั้งปวงเป็นแนวคิด ที่อยากนำมาแบ่งปันให้ทราบ
จะย้ายวิกเรื่องเล่าชาวกุมาร มาอยู่ที่โรงพยาบาลต้นสังกัด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชแล้วครับ
ขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
จักรพันธ์
พฤศจิกายน 2550
 


สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาบทความ©

     
 


ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ประพันธ์บทความหรือผู้ดำเนินการเว็บไซต์นี้ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
ผู้ประพันธ์บทความนี้ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
 
     
 
     
     
เนื้อหาภายในเวปไซต์
Interesting Link

L10 Web Stats Reporter 3.15 LevelTen Hit Counter - Free PHP Web Analytics Script
LevelTen dallas web development firm - website design, flash, graphics & marketing